ทำประกันดีไหมนะ? จ่ายเบี้ยทิ้งทุกปี ไม่ได้เคลมเลย มันจะคุ้มหรอ? คำถามนี้น่าจะเป็นสิ่งที่หลายคนสงสัย โดยเฉพาะในสมัยนี้ค่าครองชีพสูงขึ้นเรื่อย ๆ เวลาจะใช้เงินจ่ายอะไรที ก็อดคิดไม่ได้ว่าสิ่งที่เรากำลังจะลงทุนไปนั้น มันคุ้มค่าจริงรึเปล่า ยิ่งเวลาเจ็บป่วยหนักขึ้นมา อาจสร้างภาระค่าใช้จ่ายมหาศาล หรือจริง ๆ แล้วทำประกันไว้จะคุ้มกว่า?
มาลองหาคำตอบผ่านการเปรียบเทียบให้เห็นกันไปเลยดีกว่า ซึ่งในบทความนี้ขอยกตัวอย่าง กรณีเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรง ระหว่างคนที่มีประกันโรคร้ายแรง Multi-Pay CI Plus กับคนที่ไม่มี จะเป็นอย่างไร?
มีประกันโรคร้ายแรง Multi-Pay CI Plus กับไม่มีประกันโรคร้ายแรง
ก่อนจะเริ่มเปรียบเทียบ เรามาทำความเข้าใจเพิ่มกันก่อน AIA Multi-Pay CI Plus คือประกันโรคร้ายแรงที่ให้ความคุ้มครองโรคร้ายแรง ครอบคลุมทุกการเจ็บป่วยจากโรคร้ายแรง พร้อมดูแลไปตลอดแม้ในช่วงฟื้นฟูร่างกาย รวมรับผลประโยชน์ สูงสุด 1,000% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
โดย AIA Multi-Pay CI Plus เป็นประกันโรคร้ายแรงที่พัฒนาต่อยอดมาจาก AIA Multi-Pay CI โดยมีการเพิ่มผลประโยชน์ในส่วนของสัญญาเพิ่มเติม AIA Total Care ที่มีผลประโยชน์ภาวะวิกฤตที่มีผลต่อการดำรงชีวิต (Major Impact Benefit: MIB) และผลประโยชน์การดูแลต่อเนื่องจากโรคร้ายแรง (Continuing Care Benefit: CCB) ให้ครอบคลุม และตอบโจทย์ความต้องการของผู้เอาประกันภัยให้มากยิ่งขึ้น ตามคอนเซปต์ “เจอ จ่าย หลายจบ” รับเงินก้อนจากประกันเพื่อใช้ในการรักษาพยาบาล ชดเชยรายได้ หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามสะดวก
ยกตัวอย่างกรณี ‘มีประกันโรคร้ายแรง AIA Multi-Pay CI Plus’
นาย A: อายุ 30 ปี ทำงานประจำ มีรายได้ 50,000 บาทต่อเดือน โดยนาย A ตัดสินใจทำประกันโรคร้ายแรง AIA Multi-pay CI Plus โดยเลือกจำนวนเงินเอาประกันภัย 1,000,000 บาท จ่ายเบี้ยประกันภัยประมาณปีละ 20,000 บาท
หากนาย A ตรวจพบโรคมะเร็งระยะลุกลาม ใน 5 ปีต่อมา นาย A จะได้รับเงินก้อนจากการเคลมประกัน AIA Multi-pay CI Plus เป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท (100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย) โดยเงินก้อนนี้สามารถนำไปใช้สำหรับ
● ค่ารักษาพยาบาล
● ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
● ค่าสูญเสียรายได้จากการทำงาน
● ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ยกตัวอย่างกรณี ไม่มีประกันโรคร้ายแรง AIA Multi-pay CI Plus
นาย B: อายุ 30 ปี ทำงานประจำ มีรายได้ 50,000 บาทต่อเดือน นาย B ไม่ได้ทำประกันโรคร้ายแรง
หากนาย B ตรวจพบโรคมะเร็งระยะลุกลาม นาย B จะต้องใช้เงินออมส่วนตัว เงินจากครอบครัว หรือเงินจากการกู้นอกระบบ เพื่อจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และอื่น ๆ
จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่า นาย A ที่ทำประกัน AIA Multi-Pay CI Plus มีภาระค่าใช้จ่ายน้อยกว่านาย B มาก โดยเงินก้อนจากประกันช่วยให้นาย A สามารถรักษาโรคมะเร็งได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายใด ๆ ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับครอบครัว และช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย
เราไม่สามารถรู้เลยว่าจะเกิดเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงเมื่อไหร่ และที่สำคัญค่ารักษาพยาบาลเกี่ยวกับโรคร้ายแรงค่อนข้างสูง ดังนั้นการทำประกันโรคร้ายแรงจึงเป็นหนึ่งในการวางแผนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการเงินที่ดีในอนาคต แม้จำเป็นจะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยทุกปี แต่เรียกได้ว่าคุ้มค่ามากอย่างแน่นอน
ที่มา : https://distribution.aia.co.th/th/iSay/ISAY_PROD_FEB24_8.html